วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

น้ำตกสี่ขีด

มาเที่ยวชมอุทยาแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด


เที่ยวน้ำตกสี่ขีด



ถนนเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวน้ำตก

มีร้านอาหารให้รับประทานด้วย

บรรยากาศน่าเล่นน้ำอิอิ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หาดหินงาม

life of gone...ชีวิตต้องเดินไปข้างหน้าเสมอ
แวะหาดทรายขาว เข้าหาดหินงาม เดินเล่นยามบ่าย


บริเวณชายหาดเต็มไปด้วยก้อนหินกลมเกลี้ยง มีสีสันสวยงามและเป็นที่มาของชื่อหาดหินงาม ตลอดแนวชายหาดไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกบริการ

ที่นี่ หาดหินงาม อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ทะเลที่ยังสวยงามอยู่ ที่เรียกว่าหาดหินงามคงจะเป็นเพราะว่า ส่วนหนึ่งของชายทะเลเป็นหาดทรายขาวและ อีกส่วนหนึ่ง(ที่เห็น) เป็นแนวหินที่มีขนาดและรูปร่างที่สวยงามต่างกันออกไป มีตั้งแต่ขนาดเล็กขนาดก้อนกรวด ไปจนถึงกระทั่งขนาดใหญ่ ประมาณ เท่าๆ กับช้างนอน แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว จึงทำให้ชายทะเลแห่งนี้ยังสะอาด และคงความเป็นธรรมชาติอยู่มาก หาดหินงาม หรือหาดสิชล ตั้งอญู่ไม่ไกลกับ ที่ว่าการอำเภอสิชลมากนัก สามารถเข้าได้หลายทาง ถ้ามีโอกาศผ่านไป ก็อย่าลืมแวะไปชมนะครับ บรรยากาศดีมากๆ
หาดหินงาม
สวยจังเลยคุณว่าไหมจ๊ะ

หาดหินงาม

หาดหินงาม ที่พักผ่อนย่อนใจ

เขาพลายดำ อำเภอสิชล จ.นครศรีธรรมราช

....."บรรยากาศอันอบอุ่นในครอบครัว ... เป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิต".....


น่ารับประทานไหมล่ะจ๊ะ

เย้!! ถึงแล้ว "จุดหมายของเรา"


บรรยากาศเบื้องล่าง




สวยงามจริงๆ

Wow!!! เข้ากั๊น-เข้ากัน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งทะเลใต้ ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งใน อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ห่างจากจังหวัดนครศรีธรรมราช 86 กิโลเมตร มีแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง คือ หาดหินงาม หาดในเพลา เขาพลายดำวันนี้ยังคงสภาพป่าที่สมบูรณ์ สถานที่นี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่าและสัตว์ป่า แหล่งท่องเที่ยวเขาพลายดำ ได้แก่


- สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่านครศรีรรมราช

- ทุ่งใสนุ่น จุดชมนกนานาชนิดในยาวเช้า - เย็น

- หินงามรางทัด แหล่งตกปลาและสถานที่พักผ่อน

- หาดทุ่งใส หาดทรายที่ขาวสะอาดมีทิวสนเรียงเป็นแนวยาวตลอดริมหาด




- ผาพลายดำ จุดชมวิวทิวทัศน์ที่งดงามตระการตา

- น้ำตกหนานไผ่ ลักษณะเป็นทางลาดซึ่งเรียกว่า 'หนาน' ด้านบนของน้ำตกเป็นป่าไผ่เรียกติดปากกันว่า 'หนานไผ่'

- น้ำตกหนานเตย ก้อนหินเรียงตัวกันมองเห็นเป็นรูปร่างต่าง ๆ

- อ่าวท้องยาง อ่าวที่มีความสวยงามท่ามกลางหุบเขา

- วังโลมา อ่าวที่ติดกับภูเขาสูงชัน ก้อนหินน้อยใหญ่เรียงรายเป็นทางยาว

- หินกอง เป็นลักษณะการเรียงตัวของหินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่บนอ่าวท้องยาง มีปลาชุกชุม

- จุดชมผีเส้อ เป็นจุดที่รวบรวมผีเสื้อหลายชนิดไว้ด้วยกัน เหมาะสำหรับการศึกษาทางธรรมชาติของผีเสื้อ


- เขาหลัก เป็นภูเขาหินปูนขนาดเล็ก มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงผจญภัย ภายในเขาหลักประกอบด้วย ถ้ำ 3 แห่ง ได้แก่ ถ้ำสว่าง ภายในถ้ำเป็นห้องโถงขนาดกลาง มีหินงอก หินย้อยที่เพดาน มีช่องให้แสงสว่างเข้า สามารถมองเห็นลักษณะภายในถ้ำได้ดีบางส่วน ถ้ำไม้ค้ำ มีขนาดเล็ก ความเชื่อก่อนเข้าถ้ำ ต้องหาไม้แข็งแรงมาค้ำปากถ้ำเอาไว้ เพื่อป้องกันการปิดของปากถ้ำ ถ้ำน้ำย้อย ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย ที่สวยงาม ซึ่งเกิดจากชั้นหินปูน ทางขึ้นจะเป็นทางชัน

-เขาฑูคาน เป็นภูเขาหินปูนขนาดเล็ก เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์เขาฑูคาน มีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

สัมผัสกิจกรรมบนเขาพลายดำ ได้แก่

- สัมผัสแสงตะวันยามรุ่งอรุณ

- ขับรถกินลม ชมวิว สัมผัสทัศนียภาพที่งดงาม

- ขับขี่จักรยานเสือภูเขา บนเส้นทางที่ท้าทาย

- ขี่ม้าชมวิว บนสันเขา แสนเพลินใจ

- เช่าเรือไปตกปลา หรือ ลัดเลาะชมชายหาด ตามมุมต่าง ๆ ของทะเลไทย

- ชมฝูงผีเสื้อหลากชนิด หลายเผ่าพันธุ์

- ชมนกป่า สีสันสดสวย

- ชมฝูงปลาโลมา เล่นน้ำตามริ้วคลื่น

- ชมและศึกษาพันธุ์ไม้ เขตป่าดิบชื้นที่หายาก

- เดินป่าผจญภัย ด้วยเส้นทางที่ธรรมชาติสรรสร้างมาให้อย่งท้าทาย

- เล่นน้ำตก ชมนกน้ำ ยามบ่ายขึ้นเขา นั่งห้าง ส่องสัตว์ป่ายามค่ำคืน

- นอนตากลม ชมดาวทะเล ยามอัสดง

ที่พักบริเวณเขาพลายดำ

สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่านครศรีธรรมราช (บ้านพัก / เต็นท์) โทร. 0-1396-2854 เขาพลายดำรีสอร์ท (บ้านพัก / เต็นท์) โทร. 0-7535-4490

การเดินทางสู่เขาพลายดำ
- จากสุราษฎร์ธานี ตามทางหลวงหมายเลข 401 ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง, รถตู้, รถยนต์ ถึงบ้านตลาดเสาร์ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนตลาดเสาร์ - ชายทะเล ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร ถึงสี่แยกทุ่งใส แล้วเลี้ยวซ้ายประมาณ 5 กิโลเมตร - จากนครศรีธรรมราช ใช้ทางหลวงหมายเลข 401 นครศรีธรรมราช –สุราษฎร์ธานี ถึงอำเภอสิชล ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร ผ่านตลาดสิชล ประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่เขาพลายดำ ระยะทาง 15 กิโลเมตร

โบราณสถานเขาคา




ประวัติความเป็นมา


ชุมชนโบราณเขาคา สันนิษฐานว่าเจริญขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ เขาคาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับประกอบพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย ได้พบร่องรอยหลักฐานสถาปัตยกรรมเทวาลัยตามแนวสันเขา เชื่อกันว่าชุมชนที่ตั้งบ้านเรือนคงกระจายอยู่ตามพื้นที่ราบรอบเขาคา ซึ่งเป็นที่กว้างเหมาะแก่การทำเพาะปลูก ได้พบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมากในชุมชนที่เป็นที่ตั้งหมู่บ้าน ชุมชนโบราณเขาคาถูกทิ้งร้างไปในสมัยใดไม่ปรากฏแน่ชัด สันนิษฐานว่าเมื่อนครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรืองขึ้น มีอิทธิพลครอบคลุมเมืองสิบสองนักษัตร ผู้คนที่เคยอยู่แถบเขาคา อาจเคลื่อนย้ายอพยพไปอาศัยอยู่ที่ศูนย์กลางความเจริญแห่งใหม่ คงเป็นสาเหตุให้ชุมชนโบราณเขาคาถูกทิ้งร้างในเวลาต่อมา





การสำรวจพบเขาคาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่เริ่มให้ความสนใจที่จะสำรวจโบราณ สถานในท้องถิ่นของตนขึ้น ต่อมากรมศิลปากรจึงได้เข้าสำรวจศึกษาบันทึกข้อมูล และรวบรวมโบราณวัตถุที่สำคัญ ๆ นำมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงได้งบประมาณดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดีและบูรณะโบราณสถานอย่างต่อเนื่อง จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยคงรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิมที่ยังหลงเหลืออยู่ และสร้างอาคารจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับโบราณวัตถุโบราณสถานที่พบในพื้นที่ โดยรอบเขาคา ปัจจุบันได้เปิดบริการให้ประชาชนทั่วไปเข้าเยี่ยมชมได้











ลักษณะทั่วไป


เขาคาเป็นภูเขาขนาดเล็กลูกโดด สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๗๒ เมตร มีพื้นที่กว้าง ๒๐๐ เมตร ยาวประมาณ ๘๕๐ เมตร ทอดตัวอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีคลองท่าทนไหลผ่าน ประกอบด้วยยอดเขาสองยอด มีลักษณะเป็นเนินบนตระพักเขา บนเนินยอดเขาทั้งสองมีโบราณสถานหลายแห่ง เรียงตามสันเขา บริเวณภูเขาปกคลุมด้วยป่า





โบราณสถานเขาคา มีประโยชน์ต่อการศึกษา มีร่องรอยของอารยธรรมความเจริญให้เห็นความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาพราหมณ์ ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ศึกษารากเหง้าของตนเองได้มีความรู้ความเข้าใจใน ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศาสนา และชาติพันธ์วิทยาของชาวนครศรีธรรมราชต่อไป เขาคายังเป็นสถานที่พำผ่อนหย่อนใจทางศิลปวัฒนธรรม เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของอำเภอสิชล เป็นความภาคภูมิใจของคนในท้องถิ่น




หลักฐานที่พบ


๑. โบราณสถานบนยอดเขาทางทิศเหนือ เป็นศาสนสถานที่ใช้หินธรรมชาติมาก่อล้อมเป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้วยกำแพงแก้ว ประดิษฐานศิวลึงค์ขนาดใหญ่ที่ปรับแต่งจากแท่งหินธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะ โดยรอบแท่งหินมีร่องรอยการกะเทาะให้มีรูปร่างคล้ายศิวลึงค์ ด้านล่างมีร่องโสมสูตรเพื่อรับน้ำจากการบูชาให้ไหลผ่านไปทางทิศเหนือ ลงสู่ลาดเขาต่ำลงไปเบื้องล่าง




๒. กลุ่มโบราณสถานบนยอดเขาจากทิศใต้ ประกอบด้วยอาคาร ๔ หลัง เรียงตามลำดับจากทิศเหนือ-ทิศใต้




๒.๑) โบราณสถานหมายเลข ๑ เป็นกำแพงแก้วรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ๒๖.๖๐ x ๖๐ เมตร ด้านทิศเหนือของกำแพงแก้วเปิดเป็นช่องประตูและบันไดเพื่อเป็นทางเข้าออก ภายในกำแพงแก้วมีหลักฐานว่าเป็นลานปูอิฐ พบส่วนฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ๘.๔๐ x ๑๓.๘๐ เมตร ตั้งอยู่ค่อนไปทางทิศเหนือ โบราณวัตถุที่พบได้แก่ ธรณีประตู กรอบประตู และฐานเสา



๒.๒ โบราณสถานหมายเลข ๒ เป็นประธานของศาสนสถานบนเขาคาตั้งอยู่บนยอดเขาสูงสุดของสันเขา เป็นเทวาลัยสำหรับประดิษฐานศิวลึงค์ การสร้างเทวาลัยบนยอดเขาคามาจากความเชื่อโดยสมมติให้เขาคาเป็นเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางแห่งจักรวาลที่สถิตประทับของเทพเจ้าสูงสุด คือองค์พระศิวะ โดยมีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ตัวอาคารก่อล้อมด้วยกำแพงแก้วรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ๒๖ x ๒๖ เมตร มีประตูและบันไดเข้า-ออก ที่กำแพงแก้วด้านทิศเหนือและทิศใต้ ระหว่างกำแพงแก้วกับตัวอาคารเป็นลานปูอิฐ ตัวอาคารอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด ๑๗x๑๗ เมตร ด้านทิศตะวันตก ซึ่งเป็นด้านหน้าทำเป็นมุขกึ่งกลางเป็นบันไดทางขึ้นจากพื้นลานสู่โถงภายใน ใกล้กึ่งกลางของฐานอาคารด้านทิศเหนือมีบ่อรูปสี่เหลี่ยมใช้เป็นบ่อรับ น้ำมนต์ซึ่งไหลตกลงมาจากท่อโสมสูตรที่ตั้งอยูบนอาคารด้านทิศเหนือ


๒.๓ โบราณสถานหมายเลข ๓ เป็นอาคารขนาดเล็กอยู่ทางด้านทิศใต้หรือด้านหลังของอาคารประธานสภาพหลังการขุดแต่งค่อนข้างชำรุด พบฐานเสาอาคารเป็นฐานเสาหินประมาณ ๕ เสา กระจัดกระจายอยู่โดยรอบโบราณสถาน





๒.๔ โบราณสถานหมายเลข ๔ เป็นอาคารที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้สุดของสันเขา มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ๗.๕๕x ๑๓.๘๐ เมตร ประตูทางเข้าด้านทิศเหนือ โดยรอบอาคารมีฐานเสาวางกระจัดกระจายอันเกิดจากการลักลอบขุดของคนในชั้นหลัง โบราณวัตถุสำคัญที่พบ คือฐานโยนิ ลักษณะเลียนแบบธรรมชาติที่มีลักษณะสวยงามที่สุดชั้นหนึ่งที่เคยพบในภาคใต้ ของไทย




๓. สระน้ำโบราณ

สระน้ำบนยอดเขาเกิดจากการปรับแต่งร่องเขาขนาดเล็กระหว่างลาดเขาใช้เป็นแหล่งเก็บน้ำ มีทั้งหมด ๓ สระ ได้แก่

๓.๑ สระน้ำหมายเลข ๑ อยู่ระหว่างโบราณสถานหมายเลข ๑ กับโบราณสถานหมายเลข ๒ ขนาดกว้าง ยาวประมาณ ๑๒x๒๔ เมตร

๓.๒ สระน้ำหมายเลข ๒ อยู่ระหว่างโบราณสถานหมายเลข ๒ กับโบราณสถานหมายเลข ๓ ขนาดกว้างยาวประมาณ ๘-๑๐ เมตร

๓.๓ สระน้ำหมายเลข ๓ อยู่ระหว่างโบราณสถานหมายเลข ๑ กับเนินโบราณสถานด้านทิศเหนือ ขนาดกว้าง-ยาวประมาณ ๔x๑๐ เมตร




๔. โบราณวัตถุ

โบราณวัตถุมีหลายชิ้นที่สำคัญ ได้แก่





๔.๑ ศิวลึงค์ เป็นรูปเคารพในลัทธิไศวนิกายมีเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่รูปแบบที่นิยมมีสามส่วนคือ

ส่วนฐาน เป็นรูปสี่เหลี่ยม เรียกว่า พรหมมภาค หมายถึงพระพรหม ส่วนกลาง เป็นรูปแปดเหลี่ยม เรียกว่า วิษณุภาค หมายถึง พระวิษณุ ส่วนยอด เป็นทรงกลมโค้งมน เรียกว่า รุทรภาค หมายถึง พระศิวะ

๔.๒ ฐานโยนิโทรณหรือฐานศิวลึงค์ พบเป็นจำนวนมาก ทำมาจากหินปูน มีลักษณะรูปแบบแตกต่างกันหลายรูปแบบและหลายขนาด



๔.๓ ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม ที่พบมากมีธรณีประตู โสมสูตร ฐานเสา ขึ้นส่วนกรอบประตูทำมาจากหินปูน

๔.๔ เทวรูปและชิ้นส่วนเทวรูป มีการขุดพบหลายชิ้น ทำมาจากหินปูน

เส้นทางเข้าสู่เขาคา

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ นครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๖๓ กิโลเมตร ถึงสามแยกเข้าบ้านเขาคา เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางประมาณ ๔ กิโลเมตร ก็จะถึงแหล่งโบราณคดีเขาคา

อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด

แหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด

อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีดในอดีตผืนป่าบริเวณนี้หนาทึบและมีสัตว์ป่าชุกชุม ชาวบ้านจึงเรียกด้วยชื่อน่าสะพรึงกลัวว่า “ผีขีด” ภายหลังจึงเพี้ยนมาเป็น สีขีด พื้นที่ส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด ซึ่งเป็นเขาหินปูน จึงก่อให้เกิดน้ำตกหินปูนที่สวยงาม และยังมีถ้ำที่น่าพิศวงหลายแห่ง อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีดมีพื้นที่ประมาณ 90,625ไร่ หรือ 145ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในแนวทิวเขานครศรีธรรมราชที่สูงชันสลับซับซ้อน มีสันปันน้ำเป็นแนวแบ่งเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี
เดิมพื้นที่บริเวณน้ำตกสี่ขีดอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ายางโพรงและป่าเขา ใหญ่ ท้องที่ตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ที่มีทิวทัศน์ธรรมชาติสวยงาม เช่น น้ำตก เกาะแก่ง แอ่งน้ำ โขดหิน และพันธุ์ไม้ตระกูลต่างๆ มากมาย สมควรที่จะได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน เป็นอย่างยิ่ง ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงได้กำหนดพื้นที่นี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอ สิชล และเพื่อเป็นการสนองนโยบายดังกล่าว อำเภอสิชล จึงรณรงค์จัดทำโครงการอนุรักษ์ป่าเพื่อชุมชนบริเวณน้ำตกสี่ขีด และเสนอกรมป่าไม้พิจารณาจัดตั้งเป็นวนอุทยานต่อไป เพื่อเป็นการรักษาสภาพภูมิประเทศอันสวยงามและอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารสำหรับ ราษฎรได้ใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงน้ำตกได้ถูกราษฎรบุกรุกทำลายป่า เพื่อครอบครองที่ดินอย่างกว้างขวาง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้ และในเรื่องนี้ นายชำนิ บุญโยภาส อธิบดีกรมป่าไม้ ได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งพื้นที่บริเวณน้ำตกสี่ขีด ในป่าสงวนแห่งชาติป่ายางโพรงและป่าเขาใหญ่ เป็นวนอุทยานเมื่อเดือนกันยายน 2529แต่การดำเนินงานต้องหยุดชะงักลงเพราะปัจจัยข้อกำหนดด้านงบประมาณ จนกระทั่งปีงบประมาณ 2532จึงได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการได้
อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีดประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116ตอนที่ 48ก วันที่ 17มิถุนายน 2542กำหนดบริเวณที่ดินป่าชัยคราม และป่าวัดประดู่ ในท้องที่ตำบลท่าอุแท ตำบลคลองสระ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และป่ายางโพรง และป่าเขาใหญ่ ในท้องที่ตำบลสี่ขีด ตำบลเขาน้อย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2542
อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีดมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ สลับกับเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราช (เทือกเขาบรรทัด) ซึ่งกั้นเขตแดนระหว่างจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับจังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์และอำเภอสิชล แนวเขาวางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ เป็นแนวยาวขนานกับฝั่งทะเลตะวันออก ตอนกลางเป็นเทือกเขาที่สูงชันสลับซับซ้อน มีลักษณะเป็นสันปันน้ำ โดยลาดต่ำไปทางตะวันออกและทางตะวันตก ที่ราบส่วนใหญ่อยู่ทางตะวันออก พื้นที่นี้มียอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดเขาคีโหมด สูง 1,303เมตรจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาอื่นๆ เช่น ยอดเขานางสูง 881เมตร ยอดเขาวังพุงสูง 600เมตร ยอดเขาปลายครามสูง 599เมตร ยอดเขาขุนห้วยแก้วสูง 582เมตร ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยประมาณ 700เมตร มีหุบเขาที่เป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยต่างๆ มากมาย เช่น คลองหวาด คลองท่าคลอง คลองท่าเรือรี ห้วยโหมด ฯลฯ ซึ่งทำให้เกิดแอ่งน้ำและน้ำตกเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกันเป็นลำดับ มีเขาบางลูกเป็นภูเขาหินปูน จึงเกิดถ้ำที่สวยงามน่าพิศวงมากมายหลายแห่ง เช่น ถ้ำเขาพับผ้า ถ้ำธารลอด ถ้ำสวนปราง เป็นต้น
สังคมพืชที่ขึ้นอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีดสามารถจำแนกออกได้เป็น
ป่าดิบชื้นครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติ โดยมากจะพบตามหุบเขาและริมห้วยที่มีความชื้นสูง พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ยางปาย ยางแดง ตะเคียนทอง ตะเคียนทราย หลุมพอ ไข่เขียว พญาไม้ ก่อเล็ก เต่าร้างยักษ์ ชก ฯลฯ พืชพื้นล่างและไม้เถาได้แก่ มหาสดำ หวายกำพวน หวายเทิง หวายขี้เสี้ยน เตยย่าน เปื่อย คอกิ่วย่าน เป็นต้น
ป่าดิบเขาพบในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000เมตรขึ้นไป ซึ่งเป็นระดับที่มีเมฆหมอกปกคลุมทำให้มีอากาศชื้นเสมอ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เหมือด กำยาน หัวเต่า ติ่ง แดงเขา ก่อเขา ก่อใบเอียด ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่างเป็นพวกตาเป็ดตาไก่ เคลง เนียม หวายแส้ม้า หวายเขา ดาวสามแฉก กล้วยไม้ดินชนิดต่างๆ เป็นต้น
ป่ารุ่นหรือป่าเหล่าเป็นสังคมพืชที่เกิดขึ้นทดแทนสภาพธรรมชาติเดิมภายหลังการถูกบุกรุกทำลาย พันธุ์ไม้ที่สำคัญประกอบด้วยไม้เบิกนำ ได้แก่ สอยดาว ปอหูช้าง กะลอขน ล่อ พังแหรใหญ่ ทุ้งฟ้า เป็นต้น
อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีดเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า จำนวน 327ชนิด ได้แก่
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพบ 100ชนิด ได้แก่ เลียงผา ช้างป่า สมเสร็จ เสือไฟ เก้ง ลิงเสน ชะนีธรรมดา ค่างแว่นถิ่นใต้ เสือลายเมฆ หมูป่า อ้นใหญ่ เม่นใหญ่แผงคอ เพียงพอนเหลือง หมูหริ่ง ชะมดเช็ด อีเห็นธรรมดา พังพอนธรรมดา กระแตธรรมดา พญากระรอกดำ กระรอกข้างลายท้องแดง ค้างคาวขอบหูขาวเล็ก ค้างคาวบัวฟันกลม หนูฟานเล็ก ฯลฯ
นกพบทั้งสิ้น 157ชนิด เป็นนกประจำถิ่น 143ชนิด และเป็นนกอพยพย้ายถิ่น 14ชนิด ได้แก่ นกเหยี่ยวรุ้ง ไก่ป่า นกเขาเขียว นกบั้งรอกใหญ่ นกเค้ากู่ นกจาบคาหัวสีส้ม นกแก๊ก นกแอ่นฟ้าเคราขาว นกพญาไฟใหญ่ นกปรอดเหลืองหัวจุก นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกจาบดินอกลาย นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล นกกางเขนดง นกกระจิบคอดำ นกจับแมลงคอสีน้ำตาลแดง นกกินปลีกล้วยเล็ก นกกาฝากอกเพลิง และนกกะติ๊ดตะโพกขาว ฯลฯ
สัตว์เลื้อยคลานพบจำนวน 39ชนิด ได้แก่ เต่าจักร ตะพาบแก้มแดง ตุ๊กแกป่าลายจุด จิ้งจกหางหนาม กิ้งก่าบินปีกสีส้ม เห่าช้าง เหี้ย จิ้งเหลนดินจุดดำ งูสิงหางดำ งูเขียวหัวจิ้งจก งูสามเหลี่ยมหัวหางแดง ฯลฯ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก พบ 11ชนิด ได้แก่ อึ่งกรายหัวมน อึ่งอ่างบ้าน กบตะนาวศรี กบทูด เขียดตะปาด เขียดงูศุภชัย เป็นต้น
สัตว์น้ำพบปลา 18 ชนิดที่พบโดยทั่วไปได้แก่ ปลาพลวง ปลาแฮะ ปลาซิวน้ำตก ปลาเลียหิน ปลาติดหิน และปลาอีกอง นอกจากนี้ยังพบปูน้ำตกบริเวณน้ำตกสี่ขีด 2 ชนิดด้วยกัน คือ Phricotelphusa limula และ Salangathelphusa brevimarginata 
แหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด             
  
ถ้ำเขาพับผ้า,  อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด ถ้ำเขาพับผ้า   อยู่ทางด้านตะวัน ออกใกล้กับคลองท่าเรือรี ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 5กิโลเมตร เป็นถ้ำขนาดเล็กที่มีหินงอกหินย้อย สวยงามมาก มีความลึกจากปากถ้ำประมาณ 50เมตร ในถ้ำเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ชนิดหนึ่ง คือ กง (จงโคร่ง) ขนาดใหญ่ น้ำหนักตัวประมาณ 1กิโลกรัม การเข้าไปเที่ยวชมควรขอเจ้าหน้าที่นำทาง 
ถ้ำโครำ   เป็นถ้ำหินปูน มีปากถ้ำกว้างใหญ่ ตั้งอยู่บนหน้าผาสูงชันบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สข. 1 (สวนปราง) ปากถ้ำสามารถมองเห็นทิวทัศน์สภาพป่าเบื้องล่างที่สวยงาม และพบว่าเป็นที่หลบภัยหรือที่อยู่อาศัยของเลียงผา ภาษาท้องถิ่น เรียกถ้ำสวนปราง,  อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีดว่า “โครำ” ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนที่มีค่าหายาก
ถ้ำสวนปราง  อยู่ทางด้านตะวันออกของพื้นที่ บริเวณบ้านสวนปราง เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ภายในกว้างขวาง มีความลึกจากปากถ้ำประมาณ 300เมตร มีหินงอกหินย้อยอยู่ตามผนังถ้ำดูคล้ายผ้าม่าน สวยงาม ถ้ำนี้ได้รับฉายาว่า “วิมานค้างคาว” เพราะมีค้างคาวอาศัยอยู่จำนวนมาก ถ้ำสวนปรางอยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สข.1 (สวนปราง) การเข้าไปเที่ยวชมควรขอเจ้าหน้าที่นำทาง 
เทือกเขาคีโหมด   อยู่บริเวณตอนกลาง ของพื้นที่สำรวจ เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับเทือกเขานาง,  อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด ซ้อน มีภูมิประเทศสวยงามมาก ประกอบด้วย ภูเขา น้ำตก ถ้ำ หน้าผา สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้นและป่าดิบเขาที่อุดมสมบูรณ์ เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำธรรมชาติมากมาย มีสัตว์ป่าอาศัยอย่างชุกชุม เช่น ช้างป่า เสือโคร่ง สมเสร็จ เลียงผา หมี เก้ง กวางป่า กระจง และนกนานาชนิด จึงเหมาะสมกับการเดินเท้าท่องไพรชมธรรมชาติและตั้งแค็มป์เป็นอย่างยิ่ง 
เทือกเขานาง   เดินเท้าจากหน่วย พิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สข. 1 (สวนปราง) ตามเส้นทางมีน้ำตกและสภาพป่าที่สมบูรณ์บนยอดเขามีต้นนางขึ้นเป็นจำนวนมาก มีระยะทาง 10กิโลเมตร 
น้ำตกสี่ขีด,  อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด น้ำตกคลองคราม   เป็นน้ำตกขนาดกลาง มี 6ชั้น อยู่ในเขตตำบลคลองสระ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 
น้ำตกภูริน   อยู่ห่างจากถ้ำสวนปราง ประมาณ 2กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยไหลผ่านภูเขาหินปูน ไหลผ่านถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงามและมีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในลำห้วยมีปลาชนิดต่างๆ อาศัยอยู่ชุกชุมมาก 
น้ำตกสำนักเขียน   อยู่ทางตอนใต้ห่างจากสี่แยกจอมพิบูลย์ 25กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีชั้นน้ำตกทั้งหมด 7ชั้น มีความร่มรื่นสวยงามน่าพักผ่อนหย่อนใจมาก 
น้ำตกสี่ขีด   อยู่บริเวณคลองท่าโคก ห่างจากอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช น้ำตกสี่ขีด,  อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด ประมาณ 15กิโลเมตร แหล่งกำเนิดของน้ำตกเริ่มจากเทือกเขาสูงตรงรอยต่อเขตอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช กับอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชาวบ้านเรียกบริเวณพื้นที่รอยต่อว่า ช่องน้ำปันกัน ชั้นแรกของน้ำตกอันเป็นแหล่งกำเนิด เป็นหน้าผาสูงประมาณ 60เมตร แล้วไหลผ่านชั้นหินเป็นทางยาวประมาณ 12กิโลเมตร ยังไม่มีการสำรวจตรวจนับที่แน่ชัดว่ามีชั้นน้ำตกผ่านแหล่งน้ำกี่ชั้น แต่ประมาณกันว่ามีไม่น้อยกว่า 100ชั้น พื้นที่ทางไหลของน้ำตกมีลักษณะเป็นเกาะ (น้ำตกล้อมรอบ) จำนวน 4เกาะ มีคนกล่าวกันว่าน้ำตกสี่ขีดเป็นน้ำตกเอราวัณของจังหวัดกาญจนบุรีแห่งที่สอง
จุดเด่นของหินตลอดแนวน้ำตก คือ เป็นหินปูนตะไคร่น้ำไม่จับ เวลาเที่ยวชมน้ำตกน้ำตกสี่ขีด,  อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีดแต่ละชั้นจะลดอันตรายจากการลื่นล้ม หินปูนบางแห่งจะมีลักษณะเป็นหินงอกหินย้อยสวยงามแปลกตามาก ธารน้ำมีสีเขียวมรกตและมีแอ่งน้ำกว้างหลายแห่งที่สามารถลงเล่นน้ำได้เป็น อย่างดี การเดินทางไปเที่ยวน้ำตกสี่ขีดนั้นสะดวกมากเพราะถนนลาดยางตลอดสายจนถึงตัว น้ำตก 
น้ำตกหน่อตง   ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 3ตำบลเขาน้อย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นน้ำตกที่สวยงามซ่อนตัวอยู่กลางป่า มีพรรณไม้ป่าดิบชื้นขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น มี 7ชั้น 
น้ำตกห้วยโหมด  เป็นน้ำตกขนาดกลาง มี 3ชั้น อยู่บริเวณตำบลเขาน้อย อำเภอสิชล น้ำตกหน่อตง,  อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด จังหวัดนครศรีธรรมราช 
น้ำตกหินดินดาน –น้ำตกคีรีภูผา   อยู่บริเวณตำบลคลอง สระ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นน้ำตกขนาดกลาง มี 5 ชั้น สำหรับน้ำตกคีรีภูผา เป็นน้ำตกขนาดกลางมี 2 ชั้น 


การเดินทาง
- จากจังหวัดนครศรีธรรมราชเดินทางไปตามเส้นทางสายเอเชีย นครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ประมาณ 69 กิโลเมตรจะถึงสี่แยกต้นพยอม ทางแยกขวาไปอำเภอสิชล 1 กิโลเมตร ทางแยกซ้ายเข้าสู่ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด ประมาณ 15 กิโลเมตร
- จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ประมาณ 52 กิโลเมตร จะถึงสามแยกเขาหัวช้าง เลี้ยวขวาระยะทาง 10 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เที่ยวชมทะเลสิชล



สวัสดีจร้า
วันนี้ดิฉันจะพาคุณไปเที่ยวชมชายทะเลสิชล


คำอธิบายเกี่ยวกับหาดสิชล


หาดสิชล  ชาวท้องถิ่นเรียกกันว่า หัวหินสิชล เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อมานานของอำเภอสิชล บริเวณชายหาดเป็นแนวหินไปจนจดหาดทรายโค้ง เป็นบริเวณที่เล่นน้ำได้ บนหาดมีที่พักและร้านอาหารสำหรับนักท่องเที่ยว
หาดหินงาม บริเวณชายหาดเต็มไปด้วยก้อนหินกลมเกลี้ยง มีสีสันสวยงามและเป็นที่มาของชื่อหาดหินงาม ตลอดแนวชายหาดไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกบริการ
หาดปิติ เป็นหาดที่ชาวท้องถิ่นนิยมไปพักผ่อน ชายหาดจะต่อจากหาดหินงาม บริเวณโดยรอบได้รับการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านที่พักและร้านอาหารสำหรับบริการนักท่องเที่ยว การเดินทาง โดยทางหลวงหมายเลข 401 จากอำเภอเมือง ประมาณ 70 กม. เข้าสู่ อำเภอสิชล จากตัวอำเภอสิชล แยกขวาไปทางบ้านปากน้ำ ระยะทาง 3 กม. ถึงชายหาดสิชล และจากหาดสิชลไปอีก 1.5 กม. ถึงหาดหินงาม และหาดคอเขา ห่างจากหาดหินงาม 2 กม



                อยากให้ทุกคนมาเที่ยวที่อำเภอสิชลสถานที่ท่องเที่ยวมีมากมายเลยนะค่ะ



วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ดีจร้าชาวโลก

ดีจร้าเราชื่อเดือนนะอยู่จังหวัดนครศรีธรรมราชอำเภอสิชล ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่.6
โรงเรียนสิชลประชาสรรค์จร้า
เราจะพาทุกคนไปเที่ยวชมธรรนชาติ
ที่สวยงามของอำเภอสิชลมีร้านอาหารมากมายไม่ว่าจะเป็นแถวชายหาด ตามที่ท่องเที่ยวต่างๆ
สถานที่ท่องเที่ยวที่หน้าสนใจคือน้ำตกสี่ขีด เขาพลายดำ โบราณสถานเขาคาและอีกมากมาย
ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยค่ะเพราะดิฉันเป็นมือใหม่ในการทำบล็อก ขอให้ทุกคนติดตามบล็อก
ของดิฉันด้วยนะค่ะดิฉันจะนำภาพที่ท่องเที่ยวของอำเภอสิชลมาให้คุณดูแน่นอนดิฉันจะตั้งใจทำบล็อก
ครั้งนี้ให้ดีที่สุด  ขอบคุณค่ะ อ่านกันเยอะๆนะจะ